วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

     เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก 

อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
1. ฮาร์ดดิสก์  
เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่ใช้บันทึกข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์   จึงเหมาะ สำหรับบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ประเภทโปรแกรมต่าง ๆ  ฮาร์ดดิสก์เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภท จานแม่เหล็ก  ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยความจุเป็นเมกะไบต์และกิกะไบต์แบ่งเป็น  3  ประเภทคือ  
  1. ฮาร์ดดิสก์ไอดีอี ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้เพียง เครื่องจึงมีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ขึ้นเป็นฮาร์ดดิสก์อีไอดีอี  เพื่อลดข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไอดีอี   ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นได้ถึง  4  เครื่อง  ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลหรือมีความจุได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น                
  2. ฮาร์ดดิสก์ซีเรียวเอทีเอ  มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถถอดฮาร์ดดิสก์ได้ในขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ 
  3. ฮาร์ดดิสก์สกัสซีหรือเอสซีเอสไอ  เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหน่วยความจำในตัวเอง  ทำให้บันทึกและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ประเภทอื่น            
2. แผ่นดิสเกตต์หรือแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์  

เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหลักการทำงานเหมือนกับฮาร์ดดิสก์  คือ  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทจานแม่เหล็ก  ภายนอกหุ้มด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน  เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์ซึ่งติดตั้งที่คอมพิวเตอร์

3. แผ่นซีดี  

เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสำรองประเภทจานแม่เหล็ก สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า แผ่นดิสเกตต์  โดยแผ่นซีดีขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไปจะสามารถบันทึกข้อมูลได้  700  เมกะไบต์  แผ่นซีดีแบ่งตามลักษณะการบันทึกข้อมูลได้  2  ประเภท  ดังนี้               
  1. แผ่นซีดีอาร์  สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว  จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการ เปลี่ยนแปลง                
  2. แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว  มีลักษณะภายนอกเหมือนแผ่นซีดีอาร์  แต่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ ๆ ได้หลายครั้ง  
4. แผ่นดีวีดี  

พัฒนามาจากแผ่นซีดี  สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดี  คือ  บันทึกข้อมูลได้ถึง  4.7  กิกะไบต์

5. ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์  
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน  เนื่องจากมีราคาถูก  เหมาะแก่ การพกพา  บันทึกซ้ำได้หลายครั้ง  และบันทึกข้อมูลได้มาก  ทั้งนี้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลสามารถเลือกได้ ตามความต้องการ  ซึ่งมีตั้งแต่  64  เมกะไบต์  ถึงความจุที่ระดับหน่วยเป็นกิกะไบต์

(ปรานิสา ทองอ่อน. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_ang.html [23 กันยายน2559])

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น