วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หน่วยประมวลผลกลาง


หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)

     หน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซีพียู(Central Processing Unit : CPU) หรือ โพรเซสเซอร์ (processor) ทำหน้าที่แปลและกระทำการตามคำสั่งพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ 
ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม อาจจะมีซีพียูหลายตัวทำงานร่วมกัน ซีพียูของพีซีมักจะอยู่
ในซิปเพียงตัวเดียวควบคุมการทำงานของทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ บางครั้งเรียกซีพียูว่าไมโครโพรเซสเซอร์(microprocessor)

     ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับความเร็วในการประมวลผลของซีพียูเป็นสำคัญ โดยความเร็วของหน่วยประมวลผลกลางนั้นวัดเป็นจำนวนรอบของเครื่องหรือจำนวนของคำสั่งที่สามารถกระทำได้ในหนึ่งวินาที ซีพียูในพีซี เช่นชิปเพนเทียมของบริษัทอินเทล สามารถทำงานได้ถึง 3 พันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที หรือเรียกว่าเพนเทียมมีความเร็ว 3 กิกะเฮิรตซ์นั่นเอง
คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลและควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญในหน่วยประมวลผลกลาง  คือ  ไมโครโพรเซสเซอร์

(พิสมัย ปรินทอง. (2554). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 1 (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://phungwit.ac.th/krootim/?page=developer [23 กันยายน2559])

หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
      1.หน่วยควบคุม (ControlUnit)   ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบทั้งหมด ให้ทำงาน อย่างถูกต้อง
       
      2.หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น การคำนวณทาง คณิตศาสตร์  ได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร                

  • การกระทำทางตรรกะ (AND , OR)                    
  • การเปรียบเทียบ  เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้                  
  • การเลื่อนข้อมูล (Shift)                   
  • การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)                   
  • การตรวจสอบบิท (Test  Bit)
หน่วยประมวลผลกลางจะทำงานเป็น  4  ขั้นตอน  
     โดยขั้นตอนที่  1-2  จะใช้หน่วยควบคุมในการดำเนินงาน  ส่วนขั้นตอนที่  3-4  จะใช้หน่วยคำนวณและตรรกะในการดำเนินงาน  ดังนี้                
ขั้นตอนที่  1  หน่วยควบคุมเข้าถึงข้อมูลและคัดแยกคำสั่งจากหน่วยความจำ                
ขั้นตอนที่  2  คำสั่งถูกตีความ  เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจะต้องทำงานอะไร  แล้วเลือกข้อมูลที่ต้องใช้ในการประมวลผล  แล้วกำหนดตำแหน่งของคำสั่งถัดไป                
ขั้นตอนที่  3  ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตีความได้  ทั้งการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบ    
ขั้นตอนที่  4  เก็บผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ไว้ในหน่วยความจำหลัก

(ปรานิสา ทองอ่อน. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_ang.html [23 กันยายน2559])


1 ความคิดเห็น:

  1. The biggest scam that gambler ever made? - drmcd
    A massive 서산 출장샵 scam 태백 출장안마 was 여수 출장안마 recorded in the last 24 hours, and it can be traced back years. The online gambling industry 원주 출장마사지 has seen the biggest 순천 출장안마

    ตอบลบ