วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หน่วยรับข้อมูล

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 

     ข้อมูลเข้า คือข้อมูลหรือชุดคำสั่งซึ่งข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล สำหรับชุดคำสั่ง อาจเป็นโปรแกรมในรูปแบบของไฟล์หรือคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งให้ทำงาน

     หน่วยรับเข้า (Input unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อใช้ในการประมวลผล    

(พิสมัย ปรินทอง. (2554). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 1 (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://phungwit.ac.th/krootim/?page=developer [23 กันยายน2559])


ตัวอย่างหน่วยรับข้อมูล


     แป้นพิมพ์หรือคีบอร์ด  ทำหน้าที่รับข้อมูลในลักษณะการป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์  โดยการสั่งงาน หรือส่งข้อมูลคำสั่งผ่านแป้นต่าง ๆ บนแป้นพิมพ์  ปัจจุบันแป้นพิมพ์มีทั้งแบบเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย ส่งสัญญาณและแป้นพิมพ์แบบไร้สาย



      เมาส์  ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการชี้และเลือกคำสั่งต่าง ๆ บนจอภาพ ผ่านตัวชี้หรือเมาส์พอยน์เตอร์  ด้วยการคลิก  คลิกขวา  และดับเบิ้ลคลิก  คำสั่งที่ต้องการ



     กล้องดิจิทัล  สามารถรับข้อมูลได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  จะมีการบันทึกข้อมูล ไว้ในหน่วยบันทึกข้อมูล  เมื่อผู้ใช้ต้องการรับข้อมูลจากกล้องก็เชื่อมต่อกล้องดิจิทัลโดยผ่านสายสัญณาณคอมพิวเตอร์ก็จะอ่านค่าในหน่วยบันทึกข้อมูลของกล้อง


     สแกนเนอร์  คือ  ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลต่าง ๆ เช่น  รูปถ่าย  ภาพวาด  ข้อความ สัญลักษณ์ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพโดยภาพที่ได้จากการสแกนจะแบ่งเป็น  4  ประเภท  คือ               
          - ภาพชนิดหยาบ  เป็นภาพที่มีความละเอียดต่ำ  ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย  ช่วยประหยัดเวลา
ในการสแกน                
          - ภาพเฉดสีเทา  ภาพชนิดนี้จะมีพิกเซลมากกว่าภาพประเภทแรกจึงต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าประเภทแรกด้วย                
          - ภาพสี  เป็นภาพที่มีความละเอียดสูง  ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสูง                
          - ภาพตัวหนังสือ  เป็นภาพที่เกิดจากการสแกนข้อมูลประเภทตัวหนังสือ  เช่น  เอกสารและ   ข้อความต่าง ๆ


     เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์  มีหลักการทำงานด้วยการอ่านข้อมูลจากแสงในลักษณะพาดขวาง  แล้วเปลี่ยนรหัสให้เป็นสัญญาณหรือข้อมูลดิจิทัล  ช่วยลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลและช่วยให้ทำงาน ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  เช่น  เครื่องอ่านบาร์โค้ด

(ปรานิสา ทองอ่อน. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_ang.html [23 กันยายน2559])


VDO หน่วยรับข้อมูล








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น